แข่งตีปี๊บ “ปั่นตัวเลข ส.ส.” โหมโรงก่อนเลือกตั้ง
เรื่องการยุบสภา ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยึดคำพูดเดิมที่เคยประกาศว่า จะนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อยุบสภา ในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม
ล่าสุด นายกฯอภิสิทธิ์ได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่า ได้ดำเนินการนำร่างพระราชกฤษฎีกายุบสภาขึ้นทูลเกล้าฯเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว เมื่อบ่ายวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม ก่อนเดินทางไปประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่ประเทศอินโดนีเซีย
เป็น ไปตามที่ได้เคยกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ไว้แล้ว และก็ได้แจ้งต่อสาธารณะว่านำเรื่องนี้ขึ้นทูลเกล้าฯแล้วก็จะ มีขั้นตอนการประสานงานภายใน
ทั้งนี้มั่นใจว่าการดำเนินการ ในกระบวนการเพื่อยุบสภาเลือกตั้งใหม่ในครั้งนี้ จะไม่มีปัญหาในเรื่องข้อกฎหมายใดๆทั้งสิ้น และมั่นใจว่าจะเป็นแนวทางที่จะทำให้ประเทศชาติบ้านเมืองเดิน หน้าต่อไปได้
และขอร้องว่า ในช่วงที่มีการดำเนินการตามขั้นตอนในกระบวนการยุบสภา ขอความกรุณาว่าไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่อง เหล่านี้
พร้อมเน้นย้ำจะมีการแถลงอีกครั้งหนึ่งในวันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม หลังจากเดินทางกลับจากประเทศอินโดนีเซีย
ชัดเจน ไม่มีอะไรอึมครึม ทุกอย่างเป็นไปตามตารางเวลา
แน่ นอน เมื่อนายกฯอภิสิทธิ์ ทูลเกล้าฯร่างพระราชกฤษฎีกายุบสภาไปแล้วตามที่ประกาศไว้ ที่เหลือจากนี้ต้องเป็นไปตามกระบวนการขั้นตอน
ก่อนที่จะมีการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาและกำหนดวันเลือกตั้งออกมา
เมื่อสถานการณ์มาถึงขณะนี้ การยุบสภาจะต้องเกิดขึ้นแน่นอนภายในวันสองวันนี้
ที่สำคัญ โดยปรากฏการณ์ที่นายกฯอภิสิทธิ์เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีนัดส่งท้าย ตั้งแต่เช้ายันตีสองของวันใหม่
ใช้ เวลาประชุมรวมแล้วกว่า 15 ชั่วโมง พิจารณาอนุมัติโครงการต่างๆกว่า 100 โครงการ คิดเป็นเงินงบประมาณกว่า 1 แสนล้านบาท
จนเป็น ที่มาของเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการอนุมัติงบประมาณทิ้งทวน แบ่งเค้กภายในพรรคร่วมรัฐบาล ก่อนที่จะมีการยุบสภา
ใน ขณะที่นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ก็เรียกประชุมสภาฯนัดส่งท้าย มีการจัดเลี้ยงสังสรรค์ขอบคุณบรรดา ส.ส. เจ้าหน้าที่สภาฯ และสื่อมวลชน ที่ได้ร่วมงานกันมา
พร้อม ทั้งอวยพรให้ ส.ส.ที่จะต้องกลับไปหาเสียงเลือกตั้ง ประสบโชคดี ได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามาทำหน้าที่ผู้แทน ราษฎรอีกครั้ง
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ชี้ชัดว่า ทุกพรรคการเมืองเตรียมพร้อมที่จะกลับสู่สนามเลือกตั้ง
แม้ ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาออกมา แต่คนในฝ่ายการเมืองทุกขั้ว ทุกพรรค ต่างก็รู้กันอยู่เต็มอกว่า ยังไงก็ต้องมีการยุบสภา เลือกตั้งใหม่
พรรคการเมืองทุกพรรค นักการเมืองทุกคน จึงไม่มีการรีรอ ไม่ยอมเสียเวลา ต่างออกสตาร์ตลงพื้นที่หาเสียงกันอย่างคึกคัก
ตรงนี้จึง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสภาล่ม เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบติดต่อกันหลายครั้งหลายหนในช่วงรอย ต่อก่อนที่จะมีการยุบสภา
เพราะ ส.ส.ต่างก็กลับพื้นที่ไปหาประชาชน ตุนคะแนนเสียงล่วงหน้าเอาไว้ก่อน
ขณะเดียวกัน มาถึงวันนี้ในแวดวงเวทีการเมือง เลิกพูดกันแล้วเรื่องจะยุบสภาหรือไม่ยุบสภา มีแต่พูดกันว่า
แต่ละพรรคจะได้ ส.ส.เข้ามาเท่าไหร่ ใครจะได้จัดตั้งรัฐบาล
มี การอ้างผลสำรวจโพล สารพัดโพล ทั้งโพลจริง โพลปลอม โพลมั่ว โพลยกเมฆ พรรคนี้ก็คุยว่าจะได้ ส.ส.เข้ามาเท่านั้น พรรคนั้นก็คุยว่าจะได้ ส.ส.เข้ามาเท่านี้
เกทับ บลัฟแหลก ตั้งแต่ยังไม่ยุบสภา
ทาง พรรคเพื่อไทย ที่อยู่ภายใต้บงการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ในฐานะเจ้าของพรรคตัวจริง และมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าพรรคตามกฎหมาย
ประกาศตีปี๊บเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคเพื่อไทยจะชนะถล่มทลายได้ ส.ส.
เข้ามาเกินครึ่งสภาฯ
อ้าง มีข้อมูลตัวเลขจากการทำโพลลับของหน่วยราชการ ทั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และตำรวจสันติบาล
โหมกระแสพรรคเพื่อไทยจะได้ ส.ส. 270-280 เสียง สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้แน่
ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ สไกป์ภาพและเสียงเข้ามาในที่ประ-
ชุมพรรคเพื่อไทย ประกาศว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคเพื่อไทยจะชนะขาดแน่นอน
เพราะ อาการของรัฐบาลออกแล้ว รู้ว่าสู้ไม่ได้จึงพยายามออกมาพูดว่าถ้ารวบรวมเสียงได้เกิน กึ่งหนึ่งก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ทั้งที่ตามหลักประชาธิปไตย พรรคที่ได้เสียงอันดับหนึ่งต้องได้จัดตั้งรัฐบาล
นอกจาก นี้ พรรคประชาธิปัตย์ถูกพรรคร่วมรัฐบาลต้มว่าจะได้ส.ส.เข้ามาเท่า นั้นเท่านี้ ถ้านับรวมกันแล้ว ส.ส.ต้องมีประมาณ 800 คน พรรคประชาธิปัตย์เคยได้ตัวเลขเต็มที่แค่ 160 เสียง มาถึงวันนี้ภาพแย่ลงไปอีกเยอะ ดังนั้น ไม่ว่าดูยังไงพรรคเพื่อไทยก็ต้องได้เสียงเกินครึ่ง
ปั่นแต้มพรรคเพื่อไทยจะพลิกกลับมาเป็นรัฐบาลพรรคเดียว
ใน ขณะที่แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ อย่างนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ก็ออกมาคุยโขมง เลือกตั้งครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์จะได้ ส.ส.เข้ามามากกว่า 200 เสียง
โวจะได้กลับมาเป็นรัฐบาลแน่นอน ชูนายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯรอบสอง
พร้อม สวนกลับ พ.ต.ท.ทักษิณและพรรคเพื่อไทย พยายามสร้างภาพ สั่งให้ลิ่วล้อบริวารออกมาตีปี๊บปั่นตัวเลขว่า พรรคเพื่อไทยจะชนะเด็ดขาดถล่มทลายได้ ส.ส. 270–280 เสียง จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว
เพื่อหวังผลด้านจิตวิทยาให้คนเกิดความรู้สึกว่าพรรคเพื่อ- ไทยต้องชนะ
ท้า ให้เตรียมปี๊บไว้หลายๆใบ เอาไว้คลุมหัว เวลาเดินไปไหนจะได้ไม่อาย ยืนยันพรรคประชาธิปัตย์จะชนะได้มากกว่าพรรคเพื่อไทย 1 เสียงเป็นอย่างน้อย
บลัฟกันไป บลัฟกันมา ว่าข้านี่แหละคือผู้ชนะ
ในขณะที่พรรคขนาดกลางและพรรคขนาดเล็กก็ไม่ยอมน้อยหน้า พยายามปั่นกระแสตัวเลขเข้าข้างตัวเอง
ไว้ก่อน
อย่าง พรรคภูมิใจไทย ก็คุยฟุ้งว่าจะได้ ส.ส.เข้ามา 80-100 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคชาติไทยพัฒนา ยังเน้นรักษาฐานเดิม 35-40 เสียง
พรรค ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน มักน้อย วางเป้าไว้ที่ 15-20 เสียง ส่วนพรรคน้องใหม่อย่างพรรคพลังชล หวังยึดพื้นที่ภาคตะวันออก 5-10 เก้าอี้
ทุกพรรคต่างวางเป้า โหมกระแส สร้างราคากันทั้งนั้น
ถ้าเอาตัวเลขที่แต่ละพรรคตีปี๊บป่าวประกาศมารวมกัน เกินจำนวน ส.ส.ในสภาฯ 500 คนไปแล้ว
“ทีม ข่าวการเมืองไทยรัฐ” ขอบอกว่า พฤติกรรมในเรื่องการสร้างกระแสปั่นตัวเลข ส.ส.ของพรรคการเมืองต่างๆ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งทุกครั้งและเกิดขึ้นมา นานแล้ว แทบเรียกได้ว่าเกิดขึ้นมาตั้งแต่มีการเลือกตั้งครั้งแรกใน ประเทศไทย
เมื่อเปิดฉากลงสนามเลือกตั้งก็ต้องขย่มกันด้วย เรื่องจำนวนตัวเลข ส.ส. พรรคนั้นจะได้เท่านั้น พรรคนี้จะได้เท่านี้ เกทับบลัฟแหลก ข่มกันไป ข่มกันมา
เหตุผลหลักๆที่พรรคการเมืองโดยเฉพาะพรรค 2 ขั้วใหญ่ “เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์” แข่งตีปี๊บปั่นตัวเลข ส.ส.กันครึกโครม
สิ่ง ที่หวังผลฉากหน้า ก็คือ เป็นการปลุกขวัญกำลังใจให้ผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคเกิดความฮึกเหิม ปลุกกระแสฐานเสียงให้ออกมาลงคะแนนเลือกตั้ง
ถือเป็นสีสันของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย
แต่ที่หวังผลฉากหลังและเป็นการหวังผลอย่างจริงจังมีอยู่ 2 ประเด็น
ประเด็นแรก คือ เป้าหมายเรื่องทุน
โดยเฉพาะความเป็นจริงของการเมืองที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์
การ สร้างกระแสว่าพรรคของตัวเองจะได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ก็หมายถึงกระแสเงินทุนจะไหลเข้าพรรค ทั้งในรูปของเงินบริจาค การช่วยซื้อโต๊ะระดมทุน รวมไปถึงการปล่อยท่อน้ำเลี้ยงใต้ดิน
เพราะ ต้องยอมรับว่า นายทุน นักธุรกิจ ที่ทำมาหากินกับสัมปทานของรัฐ หรือต้องการความสะดวกในการทำธุรกิจต่างๆ ก็ต้องหวังพึ่งพาผู้ที่จะเข้ามาเป็นรัฐบาลกุมอำนาจรัฐ
ถ้าไม่จ่ายก็จะถูกมองว่าทำตัวเป็นฝ่ายตรงข้าม อาจตกที่นั่งลำบากในอนาคต
จึงเป็นที่มาของการปลุกกระแสปั่นตัวเลข ส.ส. เรียกทุนเข้าพรรค
ประเด็นที่สอง คือ ข่มขู่กลไกอำนาจรัฐให้เลือกข้าง สกัดอำนาจแฝง
ทั้ง นี้ต้องยอมรับในการเลือกตั้งทุกครั้ง ฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐอยู่ก่อน หรือรัฐบาลรักษาการ จะมีความได้เปรียบ ในฐานะที่เป็นผู้ควบคุมกลไกอำนาจรัฐ
เป็นผู้บังคับบัญชาสั่งการข้าราชการ ทั้งบิ๊กทหาร บิ๊กตำรวจ และบิ๊กมหาดไทย
การ ขับเคลื่อนเดินเกมต่างๆของฝ่ายการเมืองในห้วงที่มีการหาเสียง เลือกตั้ง กรณีที่ต้องการใช้กลไกอำนาจรัฐเข้าช่วยเอื้อประโยชน์ ก็ต้องมีใบสั่งทั้งทางตรงและทางลับไปยังบิ๊กข้าราชการ
แน่นอน พรรคประชาธิปัตย์ที่กุมอำนาจรัฐอยู่จะกุมความได้เปรียบในส่วนนี้
ขณะ เดียวกัน พรรคเพื่อไทย แม้อยู่ในสถานะฝ่ายค้านก่อนลงสนามเลือกตั้ง แต่ก็ต้องยอมรับ ว่ามีบิ๊กข้าราชการที่ถูกวางตัวไว้ตั้งแต่ยุค “ทักษิณ” เรืองอำนาจ แทรกอยู่ในกลไกอำนาจรัฐด้วยเช่นกัน
อย่างที่เรียกกันว่า ทหารแตงโม ตำรวจมะเขือเทศ
การที่พรรคเพื่อไทยออกมาตีปี๊บปั่นตัวเลข ส.ส. อ้างจะชนะเลือกตั้งแบบถล่มทลาย ได้เป็นรัฐบาลพรรคเดียว
จึง เป็นการสร้างกระแส เพื่อส่งสัญญาณถึงคนของตัวเองที่แทรกอยู่ในกลไกรัฐ ให้ช่วยเหลือเอื้อประโยชน์ให้แก่พรรคเพื่อไทย อย่าแผ่ว
พร้อม ทั้งเป็นการสกัดไม่ให้บิ๊กข้าราชการช่วยเหลือฝ่ายที่กุมอำนาจ รัฐอยู่ในปัจจุบัน ส่งสัญญาณว่า ถ้าเลือกข้างผิด หลังเลือกตั้งมีการพลิกขั้วอำนาจ ต้องถูกเด้งแน่
เพราะเหตุนี้ การตีปี๊บปั่นกระแสตัวเลข ส.ส.จึงเป็นไปด้วยความเข้มข้น
อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ทั้งหมด ถือว่าเป็นแค่ฉากแรกของศึกเลือกตั้ง เป็นแค่การโหมโรงเท่านั้น
จากนี้ไปยังมีอีกหลายฉากที่ประชาชนต้องเฝ้าติดตาม เพื่อเก็บเกี่ยวข้อมูลไปพินิจพิจารณา
ก่อนถึงวันตัดสินใจ หย่อนบัตรเลือกตั้ง.
ทีมการเมือง